เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันกับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรก ๆ เรียกกันว่าเครื่อง Palm ( ผลิตขึ้นโดยบริษัทปาล์ม) ซึ่งได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นระบบที่พัฒนาขึ้นมาก่อน Windows CE หรือ Pocket PC OS ของไมโครซอฟต์ (เนื่องจากมีการผลิตเครื่องขึ้นมาใช้งานก่อนนั่นเอง) ปัจจุบันอาจพบเห็นการนำเอาระบบนี้ไปใช้กับคอมพิวเตอร์แบบพกพาของค่ายบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีชั้นนำ นอกเหนือจากเครื่องของบริษัทปาล์มด้วย เช่น Visor (ของค่ายแฮนด์สปริงซึ่งปัจจุบันรวมกิจการเข้ากับบริษัทปาล์มไปแล้ว) และ CLIE (ของค่ายโซนี่ที่ยุติการผลิตไปแล้ว) ซึ่งก็ใช้ระบบปฏิบัติการแบบนี้ อ่านต่อ
วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ระบบปฏิบัติการโซลาริส
Solaris (โซลาริส) ชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment (เดอะ โซลาริส โอปาเรติ่ง อิมวายเมน) เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่อยู่ในตระกูลเดียวกับระบบปฏิบัติการ Unix (ยูนิกซ์) พัฒนาขึ้นโดยบริษัทซัน ไมโครซิสเต็มส์ สามารถรองรับการทำงานแบบเครือข่ายได้เช่นเดียวกับระบบอื่น
ระบบปฏิบัติการโซลาริสใช้ได้กับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ 2 แบบ คือ แบบ สปาร์ค และแบบ x86 (แบบเดียวกับในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลทั่วไป) รุ่นแรก ๆ ของโซลาริส ใช้ชื่อว่า SunOS (ซันโอเอส) โดยมีพื้นฐานมาจากยูนิกซ์ตระกูล BSD (บีเอสดี) และต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้โค้ดของ System V (ซิสเต็มส์ไฟว์) แทน และเปลี่ยนชื่อมาเป็น โซลาลิส ดังเช่นในปัจจุบัน (เวอร์ชันล่าสุดปัจจุบันคือ Solaris 11.3 ที่ออกในปี 2015)
การพัฒนาบางส่วนของโซลาริส ได้พัฒนาในโครงการ OpenSolaris (โอเพนโซลาริส) ซึ่งเป็นโครงการระบบปฏิบัติการแบบ open source (โอเพนซอร์ซ)
โซลาริส คอนเทนเนอร์
ในโซลาริส คอนเทนเนอร์จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักสองส่วนได้แก่ โซลาริสโซน และ ระบบจัดการทรัพยากรระบบ ซึ่งโซลาริสโซน หรือ โซน เป็นเทคโนโลยีการแบ่งเซิร์ฟเวอร์ออกเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือนหลายๆเซิร์ฟเวอร์ อ่านต่อ
ในโซลาริส คอนเทนเนอร์จะประกอบไปด้วยส่วนประกอบหลักสองส่วนได้แก่ โซลาริสโซน และ ระบบจัดการทรัพยากรระบบ ซึ่งโซลาริสโซน หรือ โซน เป็นเทคโนโลยีการแบ่งเซิร์ฟเวอร์ออกเป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือนหลายๆเซิร์ฟเวอร์ อ่านต่อ
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์
เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003 ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ส่วนใหญ่เหมาะกับการติดตั้งและใช้งานกับเครื่องประเภทแม่ข่าย (Server )
ระบบปฏิบัติการ Windows Server
Windows Server
เป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานกับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ รุ่นแรกออกมาในชื่อ Windows NT และพัฒนาต่อมาเป็น Windows 2000 และรุ่นล่าสุดคือ Windows Server 2003 ผลิตออกมาเพื่อรองรับกับการใช้งานในระดับองค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ อ่านต่อ
ระบบปฏิบัติการลินุกซ์
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์
เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง ในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงาน มาจากยูนิกซ์ แต่จะมีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่า เป็นระบบปฏิบัติการ ประเภทแจกฟรี (Open Source) ผู้นำไปใช้งาน สามารถที่จะพัฒนาและปรับปรุงในส่วนที่เกิดปัญหาระหว่างใช้งานได้ทันที อีกทั้งยังสามารถปรับให้เข้ากับฮาร์ดแวร์ที่ใช้เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพของระบบมากที่สุด และยังมีการเพิ่มสมรรถนะ (Update) อยู่ตลอดเวลา อ่านต่อ
ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ LINUX
ระบบปฏิบัติการแมคอินทอช
ระบบปฏิบัติการ MAC
เป็นระบบ ปฏิบัติการของเครื่องแมคอินทอช เป็นผลิตภัณฑ์แรกที่ประสบความสำเร็จเกี่ยวกับการทำงานแบบ GUI ในปี ค.ศ. 1984 ของบริษัท Apple ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็นระบบปฏิบัติการ Mac OS โดยเวอร์ชันล่าสุดมีชื่อเรียกว่า Mac OS X เหมาะสมกับคอมพิวเตอร์ที่ผลิตโดยบริษัท Apple และมีความสามารถในการทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน (Multitasking) เหมาะกับงานในด้านเดสก์ทอปพับลิชชิ่ง (Desktop Publishing) อ่านต่อ
ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ MAC
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
ระบบปฏิบัติการ UNIX
เป็นระบบปฏิบัติการที่เคยพัฒนาในห้องแล็บ Bellสร้างขึ้นเพื่อใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ และเมนเฟรม ใช้ในการควบคุมการทำงานของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมลูกข่ายคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ต่อพ่วงเป็นจำนวนมาก ดังนั้นยูนิกซ์ จึงมักใช้ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ และมีการเชื่อมต่อเครือข่ายระยะไกลต่อมาได้มีการพัฒนาให้สามารถนำยูนิกซ์มาใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ คาดว่ายูนิกซ์จะเป็นที่นิยม อ่านต่อ
ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ UNIX
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์(Microsoft Windows)
ระบบปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (user interface)แบบที่เรียกว่า ระบบติดต่อผู้ใช้แบบกราฟิก หรือที่เรียกว่า จียูไอ (Graphical User lnterFace : GUl) คือ มีการเเสดงผลเป็นรูปภาพและใช้สัญลักษณ์ในรูปรายการเลือก (menu)หรือสัญรูป(icon)ในการสั่งงานคิมพิวเตอร์แทนการพิมพ์คำสั่งทีละบรรทัด ทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ง่ายขึ้น ทั้งยังมัสันที่ทำให้ซอฟต์แวร์น่าใช้งานมากขึ้น ระบบปฏิบัติการวินโดวส์นี้เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทั่วไป ทั้งนี้นอกจากใช้งานได้ง่ายดังที่กล่าวมาข้างต้นเเล้ว ยังเป็นเพราะหลังจากที่บริษัทไมโครซอฟต์ได้ผลิตระบบปฏิบัติการนี้ออกสู่ตลาดเเล้ว ยังได้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่สามารถใช้งานบนระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นหลายประเภท เช่น ซอฟต์เเวร์ประมวลผลคำ ซอฟต์เเวร์ตารางทำงาน ซอฟต์เเวร์นำเสนอ เป็นต้น ซึ่งช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ใช้ในทุกๆ ด้าน อ่านต่อ
ระบบปฏิบัติการดอส
ระบบปฏิบัติการดอส
(DOS : Disk Operating System)
(DOS : Disk Operating System)
เริ่มมีใช้ครั้งแรกบนเครื่อง IBM PC ประมาณปี ค.ศ. 1981 เรียกว่าโปรแกรม PC-DOS ต่อมาบริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้าง MS-DOS สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป และได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่รุ่น Versions 1.0 2.0 3.0 3.30 4.0 5.0 6.0 และ 6.22 ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ทำงานภายใต้ระบบปฏิบัติการ MS-DOS อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะไมโครคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าๆ ที่มีทรัพยากรของระบบน้อย อ่านต่อ
ตัวอย่างหน้าต่างระบบปฏิบัติการ MS-Dos
ซอฟต์แวร์ประยุกต์
2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ประยุกต์เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับทำงานต่าง ตามที่ต้องการ เช่น การทำงานเอกสาร งานกราฟิก งานนำเสนอ หรือเป็น Software สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น โปรแกรมงานทะเบียน โปรแกรมการให้บริการเว็บ โปรแกรมงานด้านธนาคาร
ซอฟต์แวร์ประยุกต์แบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน เป็น Software ที่ใช้สำหรับงานเฉพาะด้าน เช่น Software สำหรับงานธนาคารการฝากถอนเงิน Software สำหรับงานทะเบียนนักเรียน ซอฟต์แวร์คิดภาษี ซอฟต์แวร์การให้บริการร้าน Seven ฯลฯ
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ อ่านต่อ
2.2 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับงานทั่วไป โดยในซอฟต์แวร์ 1 ตัวมีความสามารถในการทำงานได้หลายอย่าง เช่น ซอฟต์แวร์งานด้านเอกสาร (Microsoft Word ) มีความสามารถในการสร้างงานเอกสารต่าง ๆ จัดทำเอกสารรายงาน จัดทำแผ่นพับ จัดทำหนังสือเวียน จัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ อ่านต่อ
ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการคือ
ระบบปฏิบัติการเป็นโปรแกรมควบคุมการทำงาน (ควบคุมการRun) ของโปรแกรมประยุกต์ ทำหน้าที่
โต้ตอบและเป็นสื่อกลางระหว่างโปรแกรมประยุกต์และฮาร์ดแวร์ (Hardware)
ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องและอุปกรณ์ ควบคุมและสั่งการให้ Hardware สามารถทำงานได้ เช่น ทำหน้าที่ในการตรวจเช็คอุปกรณ์ Keyboard ขณะเปิดเครื่อง ถ้าผู้ใช้ลืมเสียบสาย Keyboard ที่ port ด้านหลังของเครื่อง ขณะที่ซอฟต์แวร์ระบบตรวจสอบแล้วไม่พบอุปกรณ์เชื่อมต่อดังกล่าว จะมีข้อความแจ้งเตือนความผิดพลาด “Keyboard Error” นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการเชื่อมการทำงานระหว่าง User ในการใช้โปรแกรมประยุกต์ ( Application Software) ของ user กับระบบเครื่องฯ อำนวยความสะดวกในการใช้งาน และเพิ่มประสิทธิ์ภาพของระบบ
บทบาทและเป้าหมายของระบบปฏิบัติการ (Goals & Roles of an OS)
• อำนวยความสะดวก ทำให้ผู้ใช้ (user) ใช้เครื่องฯ ได้ง่าย (Operating System Objectives Convenience)
ทำให้คอมฯ ง่ายและสะดวกต่อการใช้งาน
• ใช้งานเครื่องได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) จัดการการใช้ทรัพยากรของระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• เพิ่มความสามารถเพื่อพัฒนาโปรแกรม (Ability to evolve) เพื่อรองรับให้ผู้ใช้เพื่อให้ผู้ใช้สามารถพัฒนาโปรแกรมได้อย่างมี ประสิทธิภาพ, สามารถทดสอบโปรแกรม, และสามารถใช้ฟังก์ชั่นใหม่ ๆ ของระบบ โดยปราศจากการแทรกแซงของระบบปฏิบัติการในระหว่างการทำงาน
สรุปเป้าหมายและบทบาทของระบบปฏิบัติการ (OS) สามารถจำแนกได้ 2 เป้าหมายคือ
1. เป้าหมายหลัก ( Primary goal) คือ การอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ให้สามารถใช้ระบบคอมฯ ได้ง่าย และสะดวกที่สุด (convenience for the user)
2. เป้าหมายหมายรอง (Secondary goal) คือ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบ
บางครั้ง 2 เป้าหมายนี้อาจขัดแย้งกัน เช่น ระบบ OS ที่ชาญฉลาดนั้นระหว่างทำงานระบบจะ
ตรวจจับข้อผิดพลาด (Error) อยู่ตลอดเวลา หากพบข้อผิดพลาดระหว่างการทำงานก็จะมีข้อความแจ้ง (Message) แก่ผู้ใช้ และหากมีข้อความแจ้งบ่อยครั้ง ก็จะกลายเป็นการขัดจังหวะการทำงานทำให้ผู้ใช้ ทำงานได้ไม่สะดวก ดังนั้นการออกแบบระบบ อ่านต่อ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ระบบปฏิบัติการปาล์ม
ระบบปฏิบัติการปาล์ม เป็นระบบปฏิบัติการที่ถือได้ว่าเกิดขึ้นมาพร้อม ๆ กันกับการนำเอาคอมพิวเตอร์แบบพกพามาใช้ในยุคแรก ๆ เรียกกันว่าเครื่อง P...
-
ระบบปฏิบัติการ Solaris (โซลาริส) Solaris (โซลาริส) ชื่อเต็ม The Solaris Operating Environment (เดอะ โซลาริส โอปาเรติ่ง อิมวายเมน) เป็นระบ...
-
ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถสูง ในการบริหารระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีลักษณะคล้ายการจำลองการทำงาน มา...
-
ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์วินโดวส์(Microsoft Windows) ระบบปฏิบัติการนี้พัฒนาโดยบริษัทไมโครซอฟต์ ซึ่งมีส่วนติดต่อกับผู้ใช้ (use...